วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เมื่อพ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ตำบลบางกุ้ง เรียกว่า ค่ายบางกุ้ง เนื่องจากเมืองแม่กลองเป็นเส้นทางที่กองทัพพม่าใช้ในการเดินทัพ โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่ายเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่เคารพบูชาของทหาร พระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้คนจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรีและกาญจนบุรีรวบรวมผู้คนมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่าย ค่ายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนี่งว่า ค่ายจีนบางกุ้ง พระองค์ทรงให้ชื่อทหารเหล่านี้ว่า ทหารภักดีอาสา ในปีพ.ศ.2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรี มาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชและพระมหามนตรี(บุญมา) ร่วมรบขับไล่กองทัพพม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย นับเป็นค่ายทหารไทยที่สร้างความเกรงขามให้กองทัพพม่า สร้างขวัญกำลังใจให้คนไทยกลับคืนมา และเป็นสงครามครั้งแรกที่ไทยกับพม่าหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ค่ายบางกุ้งแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึงปี พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราช และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้เป็นอนุสรณ์   โดยทำพิธียกศาลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2511


พงศาวดารบันทึกไว้ว่า เมื่อพระเจ้าตากสินทรงทราบข่าวพม่ายกทัพเข้ามาล้อมค่ายบางกุ้งจวนจะแตกอยู่แล้ว มีพระราชหฤทัยประดุจได้พระลาภอันอุดมกว่าลาภทั้งปวง เพราะสงครามครั้งนี้มีความสำคัญต่อการกู้ชาติไทย จะสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับสงครามครั้งแรกนี้ ค่ายบางกุ้งเป็นค่ายเก่าที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หลังจากถูกพม่าตีแตกในคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ ก็ถูกทิ้งเป็นค่ายร้าง จนเมื่อพระเจ้าตากสินสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีใหม่ ได้ส่งบรรดาลูกเรือสำเภาจีนที่สละเรือมาจงรักภักดีไปเฝ้าไว้ ตั้งให้เป็นหน่วยทหาร ภักดีอาสาโดยมี ไต้ก๋งเจียมซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น ออกหลวงเสนาสมุทรเป็นผู้บังคับบัญชาพงศาวดารกรุงธนบุรีกล่าวว่า “พระเจ้าตากสินทรงทราบข่าวข้าศึกด้วยความยินดียิ่ง ได้โปรดให้ พระมหามนตรี (บุญมา) จัดกองทัพเรือ ๒๐ ลำ แล้วพระองค์ก็ทรงเรือพระที่นั่งสุพรรณพิชัยนาวา เรือยาว ๑๘ วา ปากเรือกว้าง ๓ ศอกเศษ พลกรรเชียง ๒๘ คน พร้อมด้วยศาสตราวุธมายังค่ายบางกุ้ง โดยลัดเลาะมาทางคลองบางบอน ผ่านคลองสุนัขหอน และมาออกแม่น้ำแม่กลอง พระมหามนตรีคาดการณ์ว่าค่ายบางกุ้งล่อแหลมกำลังจะแตกอยู่แล้วจึงรีบเดินทัพ พอไปถึงก็เข้าโจมตีทัพพม่าที่กำลังล้อมค่ายไทย-จีนที่บางกุ้งโดยฉับพลัน” ในตอนเรียกประชุมนายทัพนายกองเพื่อปลุกใจก่อนเข้าโจมตีนั้น ทรงเน้นว่า ถ้าช้าไปอีกวันเดียวค่ายบางกุ้งจะแตก แล้วขวัญทหารไทยจะไม่มีวันฟื้นคืนดีได้ การรบทุกครั้งการแพ้ชนะอยู่ที่ขวัญกำลังใจ ถ้าไทยแพ้อีกในครั้งนี้ พม่าจะฮึกเหิม พวกไทยจะครั่นคร้ามและกู้ชาติไม่สำเร็จ การรักษาค่ายบางกุ้งไว้ให้ได้ในครั้งนี้ ได้ชื่อว่าท่านทั้งหลายได้ช่วยขวัญกำลังใจของไทยในการรบครั้งต่อไป
           ครั้นเผด็จศึกแล้ว พระเจ้าตากสินทรงพาทหารเข้าพักที่ค่ายบางกุ้ง ทรงประชุมเหล่าทหารหาญทั้งไทย-จีนให้มีความสามัคคีปรองดองเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีความรักกันฉันญาติมิตร ตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท ตรัสว่า เนื้อต่อเนื้อไม่เอื้อเฟื้อเป็นเนื้อกลางป่า เนื้อใช่เนื้อได้เอื้อเฟื้อเป็นเนื้ออาตมา
มีความหมายว่า คนที่เป็นญาติพี่น้องกัน ถ้ามิได้เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันก็เหมือนไม่ใช่ญาติ แต่คนที่มิใช่ญาติหากได้เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันก็เหมือนเป็นญาติสนิท
          สงครามที่ค่ายบางกุ้งนี้ นอกจากจะทำให้ขวัญกำลังใจของคนไทยที่สูญสิ้นไปกลับคืนมาแล้ว ยังทำให้ชุมนุมต่างๆที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ยามแผ่นดินว่างกษัตริย์ ได้หันมายอมรับกองกำลังกู้ชาติของพระเจ้าตากสิน รวมกันกลับมาสู่ความเป็นปึกแผ่นเข้มแข็งอีกครั้งหนึ่ง

ศาลนางไม้เจ้าจอม วัดบางกุ้ง

ศาลนางไม้เจ้าจอม วัดบางกุ้ง


เมื่อปี พ.ศ. 2531 บริเวณวัดเป็นป่ารกร้าง พระวินัยธร องอาจอาริโยได้เดินธุดงค์มาที่บริเวณวัดบางกุ้ง ปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ข้างอุโบสถหลวงพ่อนิลมณีหรืออุโบสถปรกโพธิ์ ซึ่งเงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ท่านได้เดินสำรวจบริเวณวัดซึ่งทราบมาบ้างว่าวัดนี้เคยเป็นค่ายทหารจีนบางกุ้งสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีมาก่อน ยามดึกขณะเจริญกรรมฐานมักจะเกิดนิมิตเห็นผู้หญิงคนหนึ่งแต่งชุดไทยโบราณมากราบไหว้หลวงพ่อนิลมณีหน้าอุโบสถปรกโพธิ์เป็นประจำ มีลักษณะผอมสูงผมยาวใบหน้างาม แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ต่อมาไม่นานเสาคานที่หน้าอุโบสถหล่นตกลงมาพิงอยู่ข้างอุโบสถ คืนนั้นเองท่านได้นิมิตเห็นผู้หญิงชุดไทยคนเดิมมาบอกให้นำไม้ท่อนนี้มาไว้ที่หลังอุโบสถแล้วให้สร้างศาลด้วยท่านก็ทำตาม ให้ชาวบ้านช่วยกันนำไม้มาไว้หลังอุโบสถแล้วสร้างศาลให้ตามคำขอร้อง นำไม้ท่อนนั้นแกะสลักเป็นรูปหน้าผู้หญิงไม่มีแขนขาไว้ภายในให้ชื่อว่า ศาลนางไม้เจ้าจอมผู้คนให้ความเคารพนับถือกันมากเพราะมีความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารแก่ผู้คนอยู่เสมอ
ต่อมาพระวินัยธรฯ ได้ฟื้นฟูวัดบางกุ้งร่วมกับประชาชนจนเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง ผู้หญิงแต่งกายชุดไทยโบราณมาปรากฏในนิมิตอีกได้บอกว่าเป็นองค์หญิงพระนามว่า องค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า)ต้องการให้สลักรูปองค์หญิงจากไม้ต้นโพธิ์ซึ่งมีอายุประมาณ 100 ปี โดยขอร้องให้แกะสลักทั้งองค์ หลังจากนั้นท่านได้ปรึกษาหารือญาติโยมหาช่างแกะสลัก โดยนายช่างคิดราคาค่าแรง 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) เมื่อตกลงราคากันแล้วพอช่างจะลงมือแกะสลักกลับไม่รู้ว่าจะแกะสลักเป็นรูปองค์แบบใด เพราะไม่เคยเห็นรูปร่างหน้าตาองค์หญิงมณฑาทิพย์มาก่อนทำให้แกะสลักไม่ได้ เมื่อการเป็นดังนี้ท่านเจ้าอาวาสจึงลงมือแกะสลักเองทั้งที่ไม่เคยแกะสลักไม้รูปใดๆ มาก่อนเลย การแกะสลักไม้เป็นรูปคนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ท่านได้ใช้ความพยายามอย่างสูงแกะสลักแบบที่เห็นองค์หญิงในนิมิตเหมือนมีอำนาจอย่างหนึ่งมาดลบรรดาลให้แกะได้สำเร็จ สลักอักษรไว้ที่ฐานว่า องค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ภายหลังพระวินัยธร องอาจอาริโยพบหนังสือ กฎแห่งกรรมของท.เลียงพิบูลย์ เข้าโดยบังเอิญพบเห็นเรื่องราวขององค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2291 เช่นเดียวกับที่เคยนิมิตเห็นน่าจะเป็นองค์เดียวกัน มีเนื้อหาดังนี้ องค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ประสูติเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2291 เป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) กับสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ องค์หญิงเป็นพระธิดาของกรมหลวงบวรวังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ บ้านเมืองมีเหตุเดือดร้อนมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงผู้ใดประจบสอพลอผู้นั้นจะได้เป็นใหญ่ทั้งที่ไร้ความสามารถ ผู้ครองแผ่นดินได้แต่ลุ่มหลงและเสพสุขในกามา หากใครมีบุตรีต้องนำตัวมาถวายใครขัดขืนจะถูกประหารชีวิต เหลืออยู่ก็แต่กรมหลวงบวรวังในที่ท่านไม่ทรงยอมข้องเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด ไม่คบค้าสมาคมกับใคร เมื่อพระธิดาเจริญพระชันษาเป็นสาวให้แต่งองค์เป็นชายพร้อมทั้งข้าทาสบริวารที่เป็นหญิง 300 คน เป็นชายอีก 16 คน จัดให้ฝึกอาวุธเรียนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเช่น ฟันดาบ กระบี่กระบอง หมัดมวย ตำราพิชัยสงคราม องค์หญิงทรงเชี่ยวชาญอาวุธตลอดจนเวทมนตร์คาถา ทรงมีความสามารถด้านวิชาอาคมยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกข้าศึกพม่ายกกองทัพประชิดเมือง ผู้เป็นพระบิดาทรงสั่งให้บ่าวไพร่ต่อเรือใหญ่ 30 ลำ เรือเร็ว 10 ลำ เรือแจว 20 ลำ พร้อมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร อุปกรณ์การก่อสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ลงด้วยอาคมพร้อมเรือคุ้มกันองค์หญิง ซึ่งแต่งกายเป็นชายเยี่ยงชายชาวบ้านธรรมดาหลบหนีออกจากกรุงตอนกลางคืน แต่พระบิดามิได้มาด้วย กองเรือได้ล่องน้ำมาเป็นระยะเวลา 3 วัน พบกองเรือพม่าบรรทุกกระสุน ดินดำจึงสั่งให้พลพรรคเข้าโจมตีตอนเวลาดึก จึงเกิดไฟลุกโชติช่วงฆ่าทหารพม่าซึ่งกำลังหลับเพราะเมามายแทบหมดสิ้น จนรุ่งเช้าพม่าส่งกำลังติดตามองค์หญิงทรงสั่งให้กองกำลังหลบตามป่าชายฝั่งแล้วร่ายเวทมนตร์กำบังพรางตาจนพม่าพ้นไป กองเรือหนีเล็ดรอดไปได้อย่างปลอดภัย แล้วหาทำเลสร้างเมืองเล็ก ๆ อยู่ 

รูปปั้นแม่ไม้มวยไทย



รูปปั้นมวยไทยวัดบางกุ้ง


เป็นหนึ่งเดียวของเมืองไทยอีกจุด ที่ค่ายบางกุ้ง จังหวัดสมุทรสงคราม มีและยังคุณค่าทางด้านการเรียนรู้ รูปปั้นมวยไทย ที่แสดงท่าทาง แม่ไม้มวยไทย ซึ่งแต่ล่ะท่านั้นหลายคนอาจจะไม่เคยเห็น หรือเคยเห็นแต่ไม่รู้จักชื่อ นี้คือวรยุทธในแบบไทย ที่สร้างออกมาให้ได้ศึกษากันในแบบรูปปั้น
ท่าหักปีกหงส์




ท่าทแยงค่ำเสา

จุดเด่น

วิหารปรกโพธิ์ ด้านประดิฐสถานหลวงพ่อนิลมณี


     

โบสถ์ปรกโพธิ์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของสมุทรสงคราม อยู่ห่างจากอัมพวามาประมาณ 6 กิโลเมตร ตัวโบสถ์ที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ถูกปกคลุมด้วยต้นโพธิ์ ไทร ไกร และกร่าง ทั้งหลัง เป็นความแปลกและสวยงามที่ธรรมชาติหลอมรวมกับสิ่งปลูกสร้างได้อย่างลงตัว ภายในโบสถ์เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อนิลมณี พระพุทธรูปสีดำองค์ใหญ่ แต่ตอนนี้องค์พระพุทธรูปก็กลายเป็นสีทองไปแล้ว ด้วยแรงศรัทธาของผู้ที่มากราบไหว้และปิดทองบนองค์พระ ชาวบ้านแถวนั้นเรียกโบสถ์หลังนี้ว่าโบสถ์หลวงพ่อดำ ก่อนที่จะเป็นที่รู้จักและเรียกกันทั่วไปว่าโบสถ์ปรกโพธิ์ที่จริงแล้วโพธิ์ปรกโพธิ์อยู่ในเขตค่ายบางกุ้ง ซึ่งพระเจ้าตากสินมหาราชมาตั้งค่ายเพื่อสู้รบกับ
กองทัพพม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 โดยสร้างกำแพงค่ายล้อมรอบวัดบางกุ้งไว้ ค่ายบางกุ้งถูกทิ้งร้างไปเกือบ 200 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้เป็นค่ายลูกเสือ ในบริเวณค่ายบางกุ้ง
โบสถ์ปรกโพธิ์  เป็นอุโบสถที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ถูกปกคลุมด้วยรากไม้ใหญ่  มีทั้งโพธิ์  ไทร ไกร กร่าง  ซึ่งมองภายนอกนึกว่าเป็นกลุ่มต้นไม้ภายในมีหลวงพ่อนิลมณีพระพุทธรูปประธานในโบสถ์และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติ

ประวัติ

ประวัติความเป็นมาวัดบางกุ้ง (ค่ายบางกุ้ง) จังหวัด สมุทรสงคราม

ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปีพ.ศ. 2308 กองทัพพม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้หัวเมืองปากใต้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งที่ตำบลบางกุ้ง เมืองสมุทรสงคราม เรียกว่า ค่ายบางกุ้งกองทัพพม่าซึ่งยกทัพเข้ามาตามลำน้ำแม่กลองและบุกลงมาจนถึงค่ายบางกุ้ง โดยที่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาไม่สามารถต้านทานไว้ได้ค่ายบางกุ้งจึงแตก
หลังจากพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. 2310 ค่ายบางกุ้งก็ตกอยู่ในสภาพค่ายร้าง เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว โปรดให้ชาวจีนรวบรวมสมัครพรรคพวกมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่ายเก่าที่บางกุ้ง จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ค่ายจีนบางกุ้งในปี พ.ศ. 2311 หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาไปประมาณ 8 เดือน กองทัพพม่านำโดยเจ้าเมืองทวายยกทัพบกและทัพเรือ
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่สมัยอยุธยาตอนปลาย สลักจากหินทรายแดง แสดงปางมารวิชัย ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ฝาผนังของพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปพระอดีตพุทธเจ้า และภาพพุทธประวัติ นอกจากนี้ยังมีสระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดความกว้างประมาณ 5 เมตร ความยาว 7 เมตร ที่ขอบสระมีกำแพงเตี้ยกั้น และกรุด้วยอิฐถือปูนลักษณะสอบลงไป ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดบางกุ้งเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ 50 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2539
ที่วัดบางกุ้งนี้เองมีศาลอยู่ทางด้านหลัง โดยมีชื่อว่า "ศาลนางไม้เจ้าจอม" หรือศาลขององค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ มีคนให้ความเคารพนับถือกันมาก         

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อพ.ศ. 2310  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ตำบลบางกุ้ง ...